กรมควบคุมโรค
สถาบันราชประชาสมาสัย
มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
 
มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัย
และเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
รพ.สต.
รพศ-รพท.
รพช.
นอกสังกัด-เอกชน เฉพาะบุคลากร
นอกสังกัด-เอกชน บุคลากรและผู้ประกอบการ
กทม.

เกณฑ์และแนวทางการตรวจประเมิน

มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

คำชี้แจง

  1. การให้คะแนน 3 ต้องผ่านคะแนน 1 และ 2 มาก่อน (ยกเว้นข้อที่กำหนดเป็นอย่างอื่น)
  2. รอบระยะเวลาการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 1 ปี ยกเว้นแนวทางการพิจารณา/เกณฑ์ที่กำหนดระยะเวลาเป็นอย่างอื่น
  3. การพิจารณาการให้คะแนน : กรณีที่จะได้คะแนนในแต่ระดับ ต้องผ่านเกณฑ์การให้คะแนนทุกข้อตามลำดับ ยกเว้นข้อที่มี ★ สามารถให้คะแนนตามข้อมูลที่มีได้

องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม

1

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การกำหนดพันธกิจ/บทบาท/นโยบายการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงานของบุคลากร ผู้ประกอบอาชีพ และผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในชุมชน

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีเอกสารแสดงการกำหนดพันธกิจ/บทบาท/นโยบายในการดูแลสุขภาพความปลอดภัยอาชีว-อนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงานของบุคลากรของ รพ.สต. ผู้ประกอบอาชีพ และผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในชุมชน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานได้รับทราบ

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการกำหนดพันธกิจ/บทบาท/นโยบายที่เกี่ยวข้อง
  2. มีการกำหนดพันธกิจ/บทบาท/นโยบายการดูแลสุขภาพความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพ แวดล้อมการทำงาน เฉพาะผู้ประกอบอาชีพภายนอก อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
  3. มีการกำหนดพันธกิจ/บทบาท/นโยบายฯ แก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอก และบุคลากรของรพ.สต.อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีการสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานได้รับทราบ
  4. มีการกำหนดพันธกิจ/บทบาท/นโยบายฯ แก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอก,บุคลากรของ รพ.สต. และผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการสื่อสารให้กลุ่ม เป้าหมายทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานได้รับทราบ

2

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การจัดทำแผนงานด้านอาชีวอนามัยหรือเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตามสภาพปัญหาของพื้นที่

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

แผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทำงาน หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ตาม สภาพปัญหาของพื้นที่ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการ รายปี    และแผน ระยะยาว 3 - 5 ปี ร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย องค์กร ที่เกี่ยวข้อง ระดับต่างๆ ในพื้นที่

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการดำเนินงาน
  2. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการรายปี
  3. มีการจัดทำแผนงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
  4. มีการจัดทำแผนระยะยาว 3-5 ปี

3

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การทำงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ด้านอาชีวอนามัย หรือ เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีหลักฐานเข้าร่วมเป็นคณะทำงานของเครือข่าย ในพื้นที่ เช่น คณะทำงานคปสอ. หรือ คณะทำงานที่เกี่ยวข้องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ โดยคณะทำงานดังกล่าว มีการสนับสนุนกิจกรรมด้านอาชีวอนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น งบประมาณ ฯลฯ

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการดำเนินงาน
  2. มีการดำเนินกิจกรรมการจัดบริการอาชีวอนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อมร่วมกันระหว่างหน่วยงานเครือข่าย
  3. ร่วมเป็นคณะทำงานกับหน่วยงานเครือข่าย
  4. คณะทำงานมีการดำเนินงานร่วมกันด้านอาชีวอนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยปีละ 3 กิจกรรม

4

องค์ประกอบของมาตรฐาน

สมรรถนะของบุคลากรผู้รับผิดชอบงานอาชีวอนามัย หรือ เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีหลักฐานที่แสดงถึงคุณวุฒิของบุคลากรผู้รับผิดชอบงานด้านอาชีวอนามัย เช่น ผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐานทางด้านอาชีวอนามัย หรืออนามัยสิ่งแวดล้อม หรือจบปริญญาตรี อาชีวอนามัย หรืออนามัยสิ่งแวดล้อม หรือพยาบาลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลอาชีวอนามัย 60 ชั่วโมง หมายเหตุ หลักสูตรพื้นฐานด้านอาชีวอนามัยที่มีระยะเวลาการอบรมอย่างน้อย 3 วันขึ้นไป จากหน่วยงานทางวิชาการ หรือสถาบันทางการศึกษา (พิจารณาภายในรอบระยะเวลา 5 ปี)

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีผู้รับผิดชอบงานอาชีวอนามัย
  2. มีผู้รับผิดชอบงานอาชีวอนามัย
  3. ผู้รับผิดชอบงานได้รับการฝึกอบรมทางด้านอาชีว อนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม หรือพยาบาลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลอาชีวอนามัย 60 ชั่วโมง
  4. ผู้รับผิดชอบหลักจบการศึกษาปริญญาตรีทาง อาชีวอนามัย หรืออนามัยสิ่งแวดล้อม

5

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การศึกษาวิจัย/ สร้างนวัตกรรม/สร้างองค์ความรู้/ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนางานอาชีวอนามัยหรือ เวชกรรมสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีรายงานการศึกษาวิจัย/สร้างนวัตกรรม/สร้างองค์-ความรู้/R2R /ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนางานอาชีวอนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม โดยมีการเผยแพร่ผลงานนั้นๆ เช่น การนำเสนอในเวทีวิชาการระดับจังหวัดขึ้นไป หรือการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับจังหวัดขึ้นไป (ภายในรอบระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา)

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการดำเนินการ
  2. ร่วมศึกษาวิจัย/นวัตกรรม/R2R /สร้างองค์ความรู้/ผลงานวิชาการกับหน่วยงานอื่น (ผู้จัดทำร่วม)
  3. ศึกษาวิจัย/นวัตกรรม/R2R /สร้างองค์ความรู้/ผลงานวิชาการโดยหน่วยงานเอง (ผู้จัดทำหลัก)
  4. เป็นผู้จัดทำหลักที่มีการเผยแพร่ผลงานการศึกษาวิจัย/นวัตกรรม/R2R /สร้างองค์ความรู้/ผลงานวิชาการโดยนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับจังหวัดขึ้นไป

» รวมคะแนนตั้งแต่ข้อ 1 - 5 (X) , ผลลัพธ์ = [ (X) / 15 ] x 100 =……%

องค์ประกอบที่ 2 การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)

6

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การเดินสำรวจสถานที่ทำงานเพื่อค้นหาสิ่งคุกคามสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีรายงานผลการเดินสำรวจบริเวณสถานที่ทำงานของ รพ.สต. โดยระบุถึงสิ่งคุกคามสุขภาพ/อันตราย โอกาสของการเกิดอันตราย ระดับความเป็นอันตราย และระดับความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากร รพ.สต. โดยใช้แบบสอบถาม และสื่อสารความเสี่ยงแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อความร่วมมือในการดำเนินงานปรับปรุงแก้ไข

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการเดินสำรวจสถานที่ทำงาน
  2. มีการเดินสำรวจสถานที่ทำงาน เพื่อค้นหาสิ่งคุกคาม โดยใช้แบบสำรวจ
  3. มีการประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน
  4. มีการสื่อสารความความเสี่ยง แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อความร่วมมือในการดำเนินงาน

7

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การจัดการความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีแผนงานหรือโครงการจัดการความเสี่ยงจากการทำงาน โดยมีรายงานการติดตาม การประเมิน การสรุปผลการดำเนินงานตามแผน/โครงการจัดการความเสี่ยงนั้นๆ เช่น -แสงสว่างที่ไม่เพียงพอ: ติดโคมไฟเสริมบริเวณจุดที่อ่านเอกสาร/บันทึกข้อมูล ฯลฯ

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการจัดการความเสี่ยงจากการทำงาน
  2. มีแผน หรือโครงการจัดการความเสี่ยงจากการทำงาน
  3. มีการดำเนินการจัดการความเสี่ยงจากการทำงาน
  4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการความเสี่ยง และมีการประเมิน ติดตามผล

8

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การตรวจสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีรายงานผลการตรวจสุขภาพของบุคลากร และบุคลากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือเจ็บป่วย ได้รับการดูแลสุขภาพ โดยมีการจัดทำสถานการณ์สุขภาพบุคลากร พร้อมแนวทางการควบคุมป้องกันความเสี่ยง/โรคจากการทำงาน (อาจพิจารณาใช้แนวทางการจัดทำสถานการณ์สุขภาพบุคลากรของโรงพยาบาลตามแนวทางของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม)

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. บุคลากรไม่ได้รับตรวจสุขภาพ
  2. บุคลากรได้รับการตรวจสุขภาพทั่วไป หรือตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน
  3. บุคลากรกลุ่มเสี่ยง หรือป่วยได้รับการดูแลสุขภาพ
  4. มีการจัดทำรายงานสถานการณ์สุขภาพของบุคลากรพร้อมแนวทางการควบคุมป้องกันความเสี่ยง/โรคจากการทำงาน

9

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การได้รับภูมิคุ้มกันโรคตามความเสี่ยงของบุคลากร

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีเอกสารแสดงการกำหนดกลุ่มเสี่ยงพร้อมทั้งรายชื่อ และแผนกของผู้ได้รับวัคซีน โดยมีการให้วัคซีนพื้นฐานที่จำเป็นอย่างน้อย5ชนิด ตามคำแนะนำการให้วัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของกรมควบคุมโรค  ได้แก่

  1. วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
  2. โรคไวรัสตับอักเสบบี 
  3. วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน 
  4. วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และ
  5. วัคซีนรวมป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรนชนิดไร้เซลล์(Tdap)  ให้แก่บุคลากรกลุ่มเสี่ยง โดยมีการติดตามผล หรืออาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากการได้รับวัคซีนของบุคลากรดังกล่าว (พิจารณากลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน บุคลากร 1 คน ไม่จำเป็น ต้องได้รับทั้ง 5 ชนิด ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของงาน)

เกณฑ์การพิจารณาความครอบคลุมของการได้รับภูมิคุ้มกัน

-วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน
บุคลากรทางการแพทย์ ได้รับวัคซีนครอบคลุม ร้อยละ 95

-วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
บุคลากรทางการแพทย์ ได้รับวัคซีนครอบคลุม ร้อยละ 100
โดยพิจารณาดังนี้

  1. เคยป่วยได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์
  2. ได้รับวัคซีนครบ
  3. เจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกัน

-วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
บุคลากรทางการแพทย์ ได้รับวัคซีนครอบคลุม ร้อยละ  80

-โรคไวรัสตับอักเสบบี
บุคลากรทางการแพทย์ ได้รับวัคซีนหรือมีภูมิคุ้มกันครอบคลุม ร้อยละ  90

-วัคซีนรวมป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรนชนิดไร้เซลล์(Tdap)
บุคลากรทางการแพทย์ ได้รับวัคซีนหรือมีภูมิคุ้มกัน ครอบคลุม  ร้อยละ 90

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการให้ภูมิคุ้มกันตามปัจจัยเสี่ยงของงานแก่บุคลากรในโรงพยาบาล
  2. มีการกำหนดกลุ่มเสี่ยงตามชนิดของวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็นและมีการให้วัคซีน
  3. มีการให้วัคซีนที่จำเป็นและ/หรือบุคลากรมีภูมิคุ้มกันโรคครอบคลุมบุคลากรกลุ่มเสี่ยงตามแนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์ อย่างน้อย 3 ชนิด
  4. มีการให้วัคซีนที่จำเป็นและ/หรือบุคลากร มีภูมิคุ้มกันโรคครอบคลุมบุคลากร กลุ่มเสี่ยงตามแนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์ อย่างน้อย 4 ชนิด

10

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การจัดทำแนวทางปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีคู่มือ/แนวทางปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ที่ครอบคลุมทุกความเสี่ยง โดยมีการทบทวนปรับปรุงเนื้อหาของคู่มือ/แนวทางปฏิบัติงาน อย่างน้อย 1 เรื่อง

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการจัดทำคู่มือ/แนวทางปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
  2. มีแนวทางปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานไม่ครอบคลุมทุกความเสี่ยง
  3. มีแนวทางปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานครอบคลุมทุกความเสี่ยง
  4. ทบทวนปรับปรุงเนื้อหาของคู่มือ/แนวทางปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 เรื่อง

» รวมคะแนนตั้งแต่ข้อ 6 - 10 (X) , ผลลัพธ์ = [ (X) / 15 ] x 100 =……%

องค์ประกอบที่ 3 การจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอก และผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม

11

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การเดินสำรวจสถานที่ทำงานเพื่อค้นหาสิ่งคุกคามสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในพื้นที่

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีรายงานผลการเดินสำรวจสถานที่ทำงาน เช่น สถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชน แรงงานนอกระบบ ฯลฯ โดยระบุถึงสิ่งคุกคามสุขภาพ/อันตราย โอกาสของการเกิดอันตราย ระดับความเป็นอันตราย และระดับความเสี่ยงจากการทำงาน ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพในชุมชน โดยใช้แบบสำรวจสถานประกอบการ แบบประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช เช่น นบก. หรือแบบประเมินความเสี่ยงแรงงานนอกระบบ และสื่อสารความความเสี่ยงแก่กลุ่มเป้าหมาย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อความร่วมมือในการดำเนินงานปรับปรุงแก้ไข

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการเดินสำรวจสถานที่ทำงาน
  2. มีการเดินสำรวจสถานที่ทำงานและมีการจัดระดับความเสี่ยงจากการทำงาน หรือมีการจัดระดับความเสี่ยงจากการทำงานรายบุคคล
  3. มีการสื่อสารความความเสี่ยง หรือคืนข้อมูลแก่สถานประกอบการ หรือผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อความร่วมมือในการดำเนินงานจัดการความเสี่ยง
  4. สนับสนุน หรือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการความเสี่ยง พร้อมสรุปรายงานการจัดการความเสี่ยง

12

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การจัดบริการตรวจสุขภาพ แก่ผู้ประกอบอาชีพในชุมชน

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีรายงานผลการให้บริการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานแก่ผู้ประกอบอาชีพ โดยมีการ วิเคราะห์ และสรุปสถานการณ์สุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบอาชีพในพื้นที่

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการจัดบริการตรวจสุขภาพ
  2. ร่วมเป็นทีมกับหน่วยงานอื่นๆ ในการให้บริการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน
  3. ให้บริการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน
  4. วิเคราะห์ และสรุปสถานการณ์สุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบอาชีพในพื้นที่

13

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การให้ความรู้/คำปรึกษาทางวิชาการด้านอาชีวอนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบอาชีพ/นายจ้าง หรือเครือข่ายอื่นๆ เช่น อสม.

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีหลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้/คำปรึกษาทางวิชาการด้านอาชีวอนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อมแก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้ประกอบอาชีพ/นายจ้าง หรือเครือข่ายอื่นๆ เช่น อสม. ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ทั้งการให้บริการเชิงรุกในชุมชน และ เชิงรับใน รพ.สต. โดยมีความโดดเด่น เช่น การมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมาย หรือเครือข่ายในพื้นที่ การใช้ช่องทาง หรือเทคโนโลยีต่างๆ ในการให้บริการ

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการให้ความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
  2. มีการให้ความรู้/คำปรึกษาทางวิชาการด้านอาชีวอนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเฉพาะการจัดบริการเชิงรับใน รพ.สต. หรือออกให้บริการเชิงรุกในชุมชน
  3. มีการให้ความรู้/คำปรึกษาทางวิชาการด้านอาชีวอนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ทั้งเชิงรุกในชุมชน และ เชิงรับใน รพ.สต.
  4. มีการให้ความรู้/คำปรึกษาทางวิชาการด้าน อาชีวอนามัย หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่มีความโดดเด่น เช่น การมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมาย หรือเครือข่ายในพื้นที่ การใช้ช่องทาง หรือเทคโนโลยีต่างๆ ในการให้บริการ ฯลฯ

14

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้าน อาชีวอนามัย หรือ ข้อมูลพื้นฐานด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีเอกสาร/หลักฐานแสดงถึงข้อมูลพื้นฐานด้าน อาชีวอนามัยสำหรับผู้ประกอบอาชีพในชุมชน โดยข้อมูลควรประกอบด้วย ที่ตั้ง จำนวน ประเภท ขนาดของสถานประกอบการที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ จำนวนลูกจ้าง ประเภทของสิ่งคุกคามหลักๆ และหรือจำนวนแรงงานนอกระบบที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ กลุ่มอาชีพหลัก เป็นต้น หรือข้อมูลพื้นฐานด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งก่อมลพิษ ชนิดสิ่งคุกคาม จำนวน ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านอาชีวอนามัยสำหรับผู้ประกอบอาชีพ หรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
  2. มีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านอาชีวอนามัย หรือเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมไม่ครบทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ในพื้นที่รับผิดชอบ
  3. มีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านอาชีวอนามัยของผู้ประกอบอาชีพ หรือข้อมูลด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมครบ ทุกหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ
  4. มีการจัดทำเป็นรายงานพร้อมนำเสนอ หรือพร้อมใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการจัดทำแผนงานโครงการต่างๆ

15

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน หรือ โรคจากสิ่งแวดล้อม ตามสภาพปัญหาของพื้นที่

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีโครงการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน หรือ โรคจากสิ่งแวดล้อม ที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ โดยมีรายงานการเฝ้าระวังโรคฯ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (การเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน/โรคจากสิ่งแวดล้อม คือการเฝ้าสิ่งคุกคามสุขภาพ ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานหรือมลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง และการ เฝ้าระวังสิ่งคุกคาม อย่างต่อเนื่องในพื้นที่เดียวกันอย่างน้อย 3 ปี)

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม
  2. มีสถานการณ์โรคจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่
  3. มีโครงการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่
  4. มีรายงานการเฝ้าระวังโรค หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

16

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การสอบสวนโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีรายงานการสอบสวนโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม กรณีเกิดเหตุทั้งภายในและหรือภายนอก รพ.สต. โดยมีการจัดทำรายงานการสอบสวนโรคและเผยแพร่ข้อมูลไปยังสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางต่างๆ เช่นการประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เวทีวิชาการ วารสาร เว็บไซต์ฯลฯ เพื่อนำไปสู่การป้องกันควบคุมโรคและอุบัติเหตุจากการทำงาน และโรคจากสิ่งแวดล้อม (พิจารณาเหตุการณ์ย้อนหลัง 3 ปี)

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการสอบสวนโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม
  2. มีแนวทางการสอบสวนโรค/อุบัติเหตุจากการทำงานจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม กรณีพบบ่อยในพื้นที่
  3. ร่วมเป็นทีมสอบสวนโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม
  4. ดำเนินการสอบสวนโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม พร้อมจัดทำรายงานการสอบสวนเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระบบ

» รวมคะแนนตั้งแต่ข้อ 11 - 16 (X) , ผลลัพธ์ = [ (X) / 18 ] x 100 =……%

องค์ประกอบที่ 4 การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรับ การประเมิน การวินิจฉัย การดูแลรักษา การส่งต่อ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ

17

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การพัฒนาการเข้าถึงบริการ อาชีวอนามัยหรือ เวชกรรม-สิ่งแวดล้อม

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีแนวทางการเข้ารับบริการอาชีวอนามัย หรือ เวชกรรมสิ่งแวดล้อม และการประชาสัมพันธ์เชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมาย ผ่านช่องทาง/สื่อต่างๆ อย่างน้อย 2 ช่องทาง

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการประชาสัมพันธ์แนวทางการให้บริการของ รพ.สต.
  2. มีการจัดทำแนวทางการเข้ารับบริการ
  3. มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมาย
  4. มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและเชิงรับแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 2 ช่องทาง

18

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การคัดกรอง การตรวจวินิจฉัย รักษาอาการ/การบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรือ ผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีหลักฐานที่แสดงถึงจำนวน ชนิด ของอาการ/โรค /การบาดเจ็บจากการทำงาน หรืออาการ/โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม โดยมีการคัดกรองและวินิจฉัยเบื้องต้น พร้อมหลักฐานการบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยตามระบบ ICD-10 รหัส Y96 Work-related condition: มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการทำงาน รหัส Y97 Environmental-pollution-related condition :มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับมลพิษสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการดำเนินการ
  2. มีการซักประวัติการทำงาน ตรวจ วินิจฉัย รักษา การบาดเจ็บจากการทำงาน
  3. มีการซักประวัติการทำงาน ตรวจ วินิจฉัย รักษาอาการของโรคและการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรือผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
  4. มีการบันทึกข้อมูลโรคและการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรือผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ตามระบบ ICD-10

19

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การจัดทำแนวทางในการรับ-ส่งต่อ เพื่อยืนยัน การวินิจฉัยโรคจากการทำงานกรณีซับซ้อน หรือการรักษาเพิ่มเติม

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีหลักฐานที่แสดงถึงการประสานงานกับ CUP หรือคลินิกโรคจากการทำงานของโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค จากทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง การรับ-ส่งต่อที่กำหนดไว้ โดยมีการติดตามผลการตรวจรักษาผู้ป่วยภายหลังการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ (รวมถึงอุบัติเหตุจากการทำงาน)

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ยังไม่มีแนวทางการรับ-ส่งต่อ
  2. มีการจัดทำแนวทางการรับ-ส่งต่อโรคจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อมสำคัญในพื้นที่
  3. มีการประสานกับ CUP หรือคลินิกโรคจากการทำงานของโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคจากทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการรับ-ส่งต่อที่กำหนด
  4. มีการติดตามผลการตรวจรักษาผู้ป่วยภายหลังการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ

20

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การติดตามและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรค/การ-บาดเจ็บจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีหลักฐานที่แสดงถึงจำนวน ชนิดของผู้ป่วยด้วยโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน หรือสถานที่ทำงาน และมีการจัดบริการ/ประสานการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม นั้น โดยเจ้าหน้าที่ หรือ อสม.

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการติดตามผู้ป่วย
  2. มีแนวทางการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน หรือสถานประกอบการ/สถานที่ทำงาน
  3. ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน หรือสถานประกอบการ /สถานที่ทำงาน โดยบูรณาการกับงานอื่น ๆ
  4. จัดบริการ หรือประสานการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม

21

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การเข้าถึงการจัดบริการอาชีวอนามัยหรือเวชกรรม-สิ่งแวดล้อมทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีหลักฐานที่แสดงถึง จำนวนผู้ประกอบอาชีพที่ได้รับการจัดบริการอาชีวอนามัย หรือผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อมที่ได้รับบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และแนวทางการเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายในปีถัดไป

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการดำเนินงาน
  2. จำนวนผู้รับบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปีที่ผ่านมา
  3. จำนวนผู้รับบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเท่าเดิมเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปีที่ผ่านมา
  4. จำนวนผู้รับบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปีที่ผ่านมา และมีการกำหนดแนวทางการเพิ่มจำนวนผู้รับบริการในปีถัดไป

» รวมคะแนนตั้งแต่ข้อ 17 - 21 (X) , ผลลัพธ์ = [ (X) / 15 ] x 100 =……%

องค์ประกอบที่ 5 การดำเนินงานจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม

22

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีหลักฐานแสดงข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับผิดชอบ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือคาดว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ เช่น จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่รวมถึงเหตุรำคาญ เหตุร้องเรียน โดยทำการสำรวจตามแบบฟอร์ม Env-Med หรือแบบฟอร์มอื่นๆ หรือ รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และนำเสนอให้กับหน่วยงาน/คณะทำงานที่เกี่ยวข้องทราบ

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  2. มีการเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษสิ่งแวดล้อม หรือคาดว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  3. มีการจัดทำรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  4. นำเสนอให้กับหน่วยงาน/คณะทำงานที่เกี่ยวข้องทราบ

23

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การคัดกรองผู้ป่วยหรือผู้ที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (กรณีพื้นที่ยังไม่มีแหล่งกำเนิดมลพิษ ไม่นำข้อนี้มาคิดคะแนน)

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีแนวทาง/แนวปฏิบัติ/Flow chart ตามแนวทางที่โรงพยาบาลกำหนด หรือที่ใช้อ้างอิงในการคัดกรองสุขภาพโดยมีแบบฟอร์ม หรือเอกสารที่ใช้ในการคัดกรองปัญหาสุขภาพ และทำการคัดกรองผู้ป่วย หรือผู้ที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และมีการจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองผู้ป่วย เพื่อติดตาม/เยี่ยมบ้าน/ส่งต่อเพื่อการรักษา (กรณีพื้นที่ยังไม่มีแหล่งกำเนิดมลพิษ ไม่นำข้อนี้มาคิดคะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีแนวทางการคัดกรองผู้ป่วย/ผู้อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
  2. มีแนวทางคัดกรองผู้ป่วย/ผู้อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ตามปัญหาในพื้นที่
  3. มีการคัดกรองผู้ป่วย/ผู้อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อมตามแนวทางที่กำหนด
  4. มีการจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง

24

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การสื่อสารความเสี่ยงเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีการสื่อสารความเสี่ยงด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ถูกต้องและเหมาะสมให้แก่ประชาชน บุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการป้องกันและลดความเสี่ยง เช่น การฝึกอบรมให้ความรู้ การจัดนิทรรศการ ตลอดจนการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ - มีการสรุปและประเมินผลการสื่อสารความเสี่ยง เพื่อนำปัญหา อุปสรรคในการสื่อสารความเสี่ยงมาปรับปรุงกระบวนการสื่อสารความเสี่ยงให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการสื่อสารความเสี่ยง
  2. มีแผน หรือแนวทางการสื่อสารความเสี่ยงให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
  3. มีการสื่อสารความเสี่ยงให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. มีการสรุปและประเมินผลการสื่อสารความเสี่ยง เพื่อนำปัญหา อุปสรรคในการสื่อสารความเสี่ยงมาปรับปรุงกระบวนการสื่อสารความเสี่ยงให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

25

องค์ประกอบของมาตรฐาน

การจัดเตรียมความพร้อมในการรองรับภาวะฉุกเฉินด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมตามความเสี่ยงในพื้นที่

แนวทางการพิจารณาตามเกณฑ์

มีการจัดทำแผน หรือร่วมจัดทำแผนกับหน่วยงานอื่นเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉิน เช่น ปัญหาหมอกควัน ปัญหาสารเคมีรั่วไหลออกสู่ชุมชน โรงงานเกิดเพลิงไหม้ฯลฯ และมีการเตรียมพร้อมด้านอุปกรณ์/เครื่องมือ เช่น อุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคล รายชื่อสำหรับการติดต่อผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แหล่งข้อมูลสืบค้นสารเคมี ฯลฯ รวมทั้งมีการร่วมซ้อมแผน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เกณฑ์การให้คะแนน

  1. ไม่มีการจัดเตรียมความพร้อม
  2. เตรียมการด้านอุปกรณ์/เครื่องมือ เช่น อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล รายชื่อแหล่งข้อมูล อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
  3. ร่วม/จัดทำแผนการฝึกซ้อม และฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง พร้อมสรุปรายงาน
  4. ร่วม/จัดทำแผนเตรียมความพร้อมภาวะฉุกเฉินด้านสารเคมี หรือรังสี ในระดับอำเภอ/ตำบล

» รวมคะแนนตั้งแต่ข้อ 22 - 25 (X) , ผลลัพธ์ = [ (X) / 12 ] x 100 =……%

การพิจารณาให้คะแนนตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม

คะแนน คำอธิบาย
3 มีการดำเนินการ หรือมีคุณลักษณะดังกล่าวในประเด็นมาตรฐานดังกล่าวอย่างครบถ้วนสมบูรณ์  มีความโดดเด่น เริ่มมีการประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุง
2 มีการดำเนินการ หรือมีคุณลักษณะดังกล่าวในระดับเฉลี่ยเกือบครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ระบุ  โดยมีการทำงานในลักษณะเครือข่ายการทำงานมากขึ้น
1 เริ่มต้นดำเนินการ โดยมีแผน หรือมีคุณลักษณะดังกล่าวอยู่บ้าง ในบางเรื่อง บางด้านแต่ไม่ครบถ้วนทั้งหมดตามเกณฑ์ที่ระบุ
0 ไม่มีคุณลักษณะดังกล่าว หรือไม่ได้ดำเนินการในประเด็นที่ระบุไว้ในเกณฑ์

การพิจารณาค่าคะแนนแต่ละองค์ประกอบตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบ จำนวนข้อ คะแนนเต็ม วิธีการคำนวณคะแนน
องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม 5 15 (คะแนนที่ได้ / 15 )X 100
องค์ประกอบที่ 2 การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) 5 15 (คะแนนที่ได้ / 15 )X 100
องค์ประกอบที่ 3 การจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอก และผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม 6 18 (คะแนนที่ได้ / 18 )X 100
องค์ประกอบที่ 4 การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรับ การประเมิน การวินิจฉัย การดูแลรักษา การส่งต่อ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ 5 15 (คะแนนที่ได้ / 15 )X 100
องค์ประกอบที่ 5 การดำเนินงานจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม 4 12 (คะแนนที่ได้ / 12 )X 100
รวม
25
75

การแบ่งระดับภายหลังจากการประเมิน

        การพิจารณาการให้คะแนน : กรณีที่จะได้คะแนนในแต่ระดับ ต้องผ่านเกณฑ์การให้คะแนนทุกข้อตามลำดับ ยกเว้นข้อที่มี ★ สามารถให้คะแนนตามข้อมูลที่มีได้

* หมายเหตุ

การแบ่งระดับโรงพยาบาลภายหลังจากการประเมิน

        ระดับ เริ่มต้นพัฒนา

        คะแนนต้องผ่านองค์ประกอบที่ 1 และ 3 การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม, การจัดบริการอาชีว-อนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอกและผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม โดยมีคะแนนผ่านองค์ประกอบที่ 1 และ 3 ร้อยละ 50

        ระดับ ดี

        ต้องผ่านองค์ประกอบที่ 1-3 การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม, การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอกและผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม โดยมีคะแนนผ่านองค์ประกอบที่ 1-3 ร้อยละ 50

        ระดับ ดีมาก

        ต้องผ่านองค์ประกอบที่ 1-4 การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม, การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอกและผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรับ การประเมิน การวินิจฉัย การดูแลรักษา การส่งต่อ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยมีคะแนนผ่านองค์ประกอบที่ 1-4 ร้อยละ 50

        ระดับ ดีเด่น

        ต้องผ่านทุกองค์ประกอบ 1-5 การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม, การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอก และผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรับ การประเมิน การวินิจฉัย การดูแลรักษา การส่งต่อ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการดำเนินงานด้านการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม โดยมีคะแนนผ่านองค์ประกอบที่ 1-4 ร้อยละ 60 และคะแนนผ่านองค์ประกอบที่ 5 อย่างน้อย ร้อยละ 50

ตารางร้อยละการผ่านเกณฑ์

องค์ประกอบ ระดับ
เริ่มต้นพัฒนาดีดีมากดีเด่น
องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
ผ่าน 50 % ผ่าน 50 % ผ่าน 50 % ผ่าน 60 %
องค์ประกอบที่ 2 การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)
- ผ่าน 50 % ผ่าน 50 % ผ่าน 60 %
องค์ประกอบที่ 3 การจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอก และผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
ผ่าน 50 % ผ่าน 50 % ผ่าน 50 % ผ่าน 60 %
องค์ประกอบที่ 4 การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรับ การประเมิน การวินิจฉัย การดูแลรักษา การส่งต่อ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ
- - ผ่าน 50 % ผ่าน 60 %
องค์ประกอบที่ 5 การดำเนินงานจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
- - - ผ่าน 50 %
ด้านบน